Archive | 1:01 pm

นกฮัมมิ่งเบิร์ด

18 ธ.ค.

นก ตัว เล็กที่สุดในโลกP. Comte de Buffon นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศสผู้เคยมีชีวิตอยู่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้เคยเอ่ยถึงนกฮัมมิงเบิร์ด (hummingbird) ว่าเป็นนกที่ธรรมชาติได้ประทานพรสวรรค์ให้มากเป็นพิเศษ เพราะมันมีลีลาการบินที่ตื่นตาตื่นใจที่สุดในโลก
นกชนิดนี้มีลำตัวเล็ก น่ารัก คือมีความยาวไม่เกิน 6 เซนติเมตร มันมีปากที่ยาวเรียวและแหลม ปีกเล็กๆ ของมันสามารถกระพือได้เร็วถึง 80 ครั้ง/วินาที ทำให้มันสามารถลอยนิ่งอยู่ในอากาศและบินถอยกลังก็ยังได้
เราพบเห็นนกชนิดนี้ได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 5o เหนือและใต้ ถิ่นอาศัยของมันคือป่าที่มีภูเขา คนฝรั่งเศสเรียกมันว่า oiseaumouche แปลว่า นกที่ใหญ่กว่าแมลงวัน มันคือ beija flor ของคนสเปน ซึ่งหมายถึงนกที่จุมพิตดอกไม้ และคนคิวบาเรียนเรียกมันตรงไปตรงมาว่า zum zum ตามเสียงที่เขาได้ยินเวลามันบิน
นกฮัมมิงเบิร์ดตัวเมีย ตามปกติมีขนาดใหญ่กว่าตัวเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย มันเป็นนกที่รักสันโดษ รู้จักรักและหวงแหนถิ่นอาศัยของมันมาก เมื่อใดก็ตามที่มันพบว่านกอื่นบุกรุกที่ที่มันเป็นเจ้าของ มันจะต่อสู้อย่างสุดฤทธิ์ นิสัยไม่ยอมและชอบต่อสู้นี้เอง ได้ทำให้ชาวอินเดียนเผ่า Astec ตั้งชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามตามชื่อ
ของฮัมมิ่งเบิร์ด

credit:http://variety.teenee.com/science/17459.html

 

 

เศรษฐกิจพอเพียง

18 ธ.ค.

 

 

 

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

credit:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87

วิธีเรียนให้เก่ง

18 ธ.ค.

 

 

วิธีเรียนให้เก่ง
   ฝึกสังเกต สังเกตในสิ่งที่เราเห็น หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ไปดูนก ดูผีเสื้อ หรือในการทำงาน การฝึกสังเกตจะทำให้เกิดปัญญามาก โลกทรรศน์ และวิธีคิด สติ-สมาธิ จะเข้าไปมีผลต่อการสังเกต และสิ่งที่สังเกต
   ฝึกบันทึก เมื่อสังเกตอะไรแล้วควรฝึกบันทึก โดยจะวาดรูปหรือ บันทึกข้อความ ถ่ายภาพ ถ่ายวีดิโอ ละเอียดมากน้อยตามวัยและ ตามสถานการณ์การบันทึกเป็นการพัฒนาปัญญา
   ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุม กลุ่ม เมื่อ มีการทำงานกลุ่ม เรา ไปเรียนรู้อะไรมาบันทึกอะไรมา จะนำเสนอให้เพื่อนหรือครูรู้เรื่อง ได้อย่างไร ก็ต้องฝึกการนำเสนอการนำเสนอได้ดีจึงเป็นการพัฒนา ปัญญาทั้งของผู้นำเสนอและของกลุ่ม
   ฝึกการฟัง ถ้ารู้จักฟังคนอื่นก็จะทำให้ฉลาดขึ้น โบราณเรียกว่า เป็นพหูสูตบางคนไม่ได้ยินคนอื่นพูด เพราะหมกมุ่นอยู่ในความคิด ของตัวเองหรือมีความฝังใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนเรื่องอื่นเข้าไม่ได้ ฉันทะ สติ สมาธิ จะช่วยให้ฟังได้ดีขึ้น
   ฝึกปุจฉา-วิสัชนา เมื่อมีการนำเสนอและการฟังแล้ว ฝึกปุจฉา-วิสัชนา หรือถาม-ตอบ ซึ่งเป็นการฝึกใช้เหตุผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำ ให้เกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นๆ ถ้าเราฟังครูโดยไม่ถาม-ตอบ ก็ จะไม่แจ่มแจ้ง
   ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม เวลาเรียนรู้อะไรไปแล้ว เรา ต้องสามารถตั้งคำถามได้ว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนั้นเกิดจากอะไร อะไรมีประโยชน์ ทำอย่างไรจะสำเร็จประโยชน์อันนั้น และมีการ ฝึกการตั้งคำถาม ถ้ากลุ่มช่วยกันคิดคำถามที่มีคุณค่าและมีความ สำคัญ ก็จะอยากได้คำตอบ
   ฝึกการค้นหาคำตอบ เมื่อมีคำถามแล้วก็ควรไปค้นหาคำตอบ จากหนังสือ จากตำรา จากอินเตอร์เน็ต หรือไปคุยกับคนเฒ่าคน แก่ แล้วแต่ธรรมชาติของคำถาม การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่ สำคัญจะสนุกและทำให้ได้ความรู้มาก ต่างจากการท่องหนังสือ โดยไม่มีคำถาม บางคำถามเมื่อค้นหาคำตอบทุกวิถีทางจนหมด แล้วก็ไม่พบ แต่ถามยังอยู่ และมีความสำคัญ ต้องหาคำตอบต่อ ไปด้วยการ

credit:http://www.oknation.net/blog/hason/2009/08/05/entry-1

ไวรัสคอมพิวเตอร์

18 ธ.ค.

 

 

 

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) บางครั้งเราเรียกสั้นๆ ว่า ไวรัส เป็นชื่อเรียกโปรแกรมชนิดหนึ่ง ที่มีพฤติกรรมละม้ายคล้ายคลึงกับไวรัสที่เป็นเชื้อโรคจริงๆ ซึ่งมีความสามารถในการสำเนาตัวเอง เพื่อเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทั้งยังสามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยที่เจ้าของไม่ยินยอมได้อีกด้วย การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ อาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฮนดี้ไดรฟ์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน

ขณะที่ไวรัสคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้นสร้างความเสียหาย เช่น ทำลายข้อมูล แต่ก็ยังมีไวรัสคอมพิวเตอร์อีกหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ใช้งานเท่านั้น ไวรัสคอมพิวเตอร์บางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันเวลาที่กำหนดไว้ หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่งซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงาน ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่ง เป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก

credit:http://www.xn--12ca6ef5akbd9a1ae7f2jeh6b.com/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/